ReadyPlanet.com
dot
เครื่องดนตรี เครื่องเสียง บันทึกเสียง
dot
dot
dot
#1 Music Inst. เครื่องดนตรีสากล
กลองชุด Drum Set
กลองไฟฟ้า Electronic Drum
Percussion Acoustic
กีตาร์ไฟฟ้า Electric guitar
กีตาร์โปร่ง Acoustic guitar
เบสไฟฟ้า Electric Bass
คีย์บอร์ด Syn-Keyboard-Piano
แอมป์เครื่องดนตรี Inst. Amp
อุปกรณ์ดนตรี อื่นๆ Others
เครื่องดุริยางค์ Marching
.............................................................
#2 Pro Audio เครื่องเสียง
.............................................................
#3 Recording อุปกรณ์บันทึกเสียง
.............................................................
#4 เครื่องเสียงบ้าน HomeEntertain
.............................................................
#5 เครื่องเล่น DJ
.............................................................
#6 วัสดุซับเสียง กันเสียง
.............................................................
#7 โต๊ะ เวที เอนกประสงค์
.............................................................
#8 สินค้ามือสอง Used Gear
.............................................................
#9 CD เพลง/เสื้อยืด
.............................................................
#10 สินค้าอื่นๆ
โต๊ะ ชั้นวาง เวทีสำเร็จรูป
วัสดุซับเสียง Sound absorber ฉนวนหินภูเขาไฟ ฟองน้ำ โฟม
ตู้ลำโพงพลาสติค Plastic Box Speakers
Studio Microphones
Studio Monitor Speakers
Audio-Interface-อุปกรณ์บันทึกเสียง
Camera-Video Microphones
dot


  [Help]
dot
dot
dot




ลำโพงมอนิเตอร์สตูดิโอ !
คุยกันมันส์ๆเรื่อง ลำโพง Monitor สำหรับงานบันทึกเสียง !

(ภาพบน) Genelec 8010A น้องเล็กจิ๋วใหม่ล่าสุด > ขวา Yamaha MSP-7 Studio
ลำโพง Monitor สำหรับงานบันทึกเสียงมีหลายยี่ห้อและเสียงแตกต่างกันไป...
แล้วตัวไหนที่มันจะเป็น Reference ให้เราล่ะ ?


ลำโพง Monitor หรือ Reference Monitor Speaker หรือ Studio Monitor ก็คือ ลำโพงเหมือนลำโพงฟังเพลงทั่วๆไปนั่นแหละครับ !! เพียงแต่ออกแบบ-ผลิตมาเพื่องานบันทึกเสียงโดยเฉพาะ ว่ากันว่าเสียงจะต้องเป็นกลางหรือ Flat ตามภาษาว่ากัน เสียงที่ได้ยินผ่านลำโพงพวกนี้ก็จะถือเป็นเสียงที่ถูกต้อง ไม่มี color คือ ไม่ผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง แต่ปัญหาคือ ลำโพง Monitor แต่ละยี่ห้อดันให้เสียงไม่เหมือนกันอีก ! มันจึงเกิดความแตกต่าง ผมเคยนั่งฟังลำโพงยี่ห้อดัง 5 ยี่ห้อ โทนเสียงไม่เหมือนกันเลย

จริงๆอยู่ที่คนปรับเป็นหลัก เพราะหากลำโพงให้เสียงถูกต้องแต่ดันปรับไปแหลมเกิน ก็จะกลายเป็นไม่ถูกต้องไป ในทางกลับกัน หากเราฟังเสียงที่ถูกต้องที่เขาอัดมาแล้วฟังผ่านลำโพงมอนิเตอร์ เราดันไม่ชอบก็แสดงว่าหูเราไม่ Flat หรือไม่ชอบลำโพงคู่นั้น !!...จริงๆแล้ว การทำงานด้านเสียงเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างความชอบ - หู - ลำโพง จุดที่ลงตัวของ 3 อย่างก็คือปลายทาง ไม่มีคำว่า ลำโพงมอนิเตอร์คู่นั้นเสียงดี เสียงไม่ดี คู่ไหนให้เสียงถูกต้อง ผู้ผลิตแต่ละค่ายต่างก็ให้ความสำคัญกับเสียงที่ผ่านลำโพงตัวเองแล้วถูกต้อง แต่ผู้ผลิตก็มีหลายราย หลายหู การออกแบบตู้ ดอกลำโพง...ก็มีหลายแบบ เสียงของลำโพงแต่ละยี่ห้อจึงแตกต่างกันพอสมควร !! แล้วเราจะยึดยี่ห้อไหนล่ะ ก็ต้องยึดตัวเราเองเป็นหลักสิ ฮา !!  
งงมั้ยครับพี่น้อง (ฮา !) ดังนั้นคนปรับเสียงก็จะต้องเรียนรู้ร่วมกันกับลำโพงคู่นั้นๆว่าเสียงที่ออกมาเป็นยังไง แล้วก็อย่าลืมไปฟังลำโพงคู่อื่นๆดูบ้าง เพราะลำโพงมอนิเตอร์ของแต่ละยี่ห้อก็ให้โทนเสียงต่างกัน ดังนั้นลำโพงมอนิเตอร์ก็จะเป็น Reference ให้เราระดับหนึ่งเท่านั้น เป้าหมายจริงๆก็คือ เวลาเรามิกส์เสียงแล้ว เอาไปเปิดที่อื่นๆดู ก็จะเฉลี่ยๆกัน ไม่แหลมไปหรือทุ้มไป ไม่โด่งความถี่ใดความถี่หนึ่ง ดังนั้นหน้าที่หลักๆ ของลำโพงมอนิเตอร์ ก็คือใช้ฟังเสียงที่เราจะอัดเข้าไปและตอนอัดไปแล้ว ยิ่งตอน Mix ก็ฟังกันเป็นหลักเชียวล่ะ สลับกับหูฟังเพื่อฟังเช็คมิติซ้ายขวาหรือฟังแบบยิงตรงเข้ารูหูเลยมันจะเป็นอย่างไร 

ยกตัวอย่างลำโพงชื่อดังมา 1 คู่ เอาอีแก่ดอกขาว Yamaha NS-10M ละกันครับ เพราะมีใช้ไปทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมา แต่ก็ยังมีเถียงกันไม่รู้จักจบคือ ตกลงลำโพงรุ่นนี้ เสียงดีหรือไม่ดี? หลายๆคนบอกเสียงห่วย เรามาคุยกันแบบนี้ครับ...

Yamaha NS-10M จะให้เสียงกลางๆ เป็นเสียงกลางที่แท้จริงคือมีแต่กลาง-แหลม เบสไม่ค่อยมี เสียงจึงไม่นุ่ม แข็งๆ โดยรวมไม่ดี แต่ย่านเสียงถูกต้อง ใช้เป็นอ้างอิงได้ เพราะเมื่อ balance Mix เสียงกับลำโพงคู่นี้แล้วฟังกลมกลืนไพเราะแล้ว เมื่อนำไปเปิดลำโพงอื่นๆ มันดัน OK ก็เลยยึดมันไว้ 1 คู่  ซึ่งนั่นคือหลักของการปรับเสียงและมิกส์เสียงนั่นเอง แต่ไงเราก็จะต้องเช็คกับลำโพงอื่นๆด้วย ไม่ว่าหูฟัง วิทยุเทปแบบหิ้ว ดูว่ามันเป็นยังไง เช็คเบสต่ำๆ ดู กับแหลมมากๆดู เพราะลำโพงคู่เดียวไม่พอ !! อย่างผมใช้ 4 คู่ครับ รวมทั้งดู Spectrum Analyzer ดูกราฟความถี่ทั้งหมดด้วย ทางลัด คือ Copy ครับ 555 นำเพลงที่เราชอบมาเปิด ดูแล้วปรับให้ใกล้เคียง 
 ที่สำคัญ คือ เราจะต้องเรียนรู้กับลำโพงที่เราใช้อยู่ ต้องรู้จักมัน ว่ามันให้เสียงออกมายังไง ! 

มีเรื่องเล่าว่า Sound Engineer ฝรั่งชื่อดัง เวลาจะไปทำงานที่สตูดิโอไหน ก็จะหิ้วลำโพงที่ตัวเองรู้จักคุ้นสุดไปทำงานด้วย จนในที่สุดห้องอัดดังๆ ทั้งหลายต้องซื้อไว้ประจำห้อง มันคือ ลำโพง Yamaha NS-10 Studio ดอกขาวเจ้าเก่า จนห้องอัดทั่วโลกต้องมีประจำ กลายเป็นลำโพงเสียงห่วย ที่คนจำต้องใช้มัน ฮา  ยังมีเรื่องฮาอีก บางคนมิกส์เสียงผ่าน Genelec ในห้องอัดได้ยินชัดทุกเม็ด แต่เวลาเอาไปเปิดที่อื่นมันดันไม่ได้ยินเพราะเสียงดีเกินไป ได้ยินหมด แต่ลำโพงในตลาดดันไม่ได้ยิน เฮ้อ.....

Spec ช่วยอะไรเราได้บ้าง ?
ก็ ok นะ ผู้ผลิตทุกรายจะต้องมีกราฟตอบสนองความถี่ย่านต่างๆมาให้ดูว่ามัน Flat ขนาดไหน มันบอกเราได้คร่าวๆว่าลำโพงนั้นๆเสียงจะออกมายังไง 

ดูกราฟการตอบสนองความถี่ของแต่ละรุ่นของ Yamaha ที่พยามยามให้กราฟ Flat ที่สุด แต่ในความเป็นจริงทำได้ยาก ถึงแม้ทำได้ หูคนเราดันไม่ Flat หรือฟังไม่เหมือนกันอีก แต่อย่างน้อยกราฟตัวนี้ก็จะบอกว่า ลำโพงแต่ละรุ่นตอบสนองความถี่ด้านไหนอย่างไร ในที่สุดลำโพงเสียงห่วย Yamaha NS-10M ดูจากกราฟแล้วมันไม่ Flat เอาเสียเลย ฮา !! มันโด่งที่ 1-2 Khz และย่านเบสตายสนิท ตั้งแต่ 200 Hz ตกลงมาเรื่อยๆ ผมเลยเรียกมันว่า"ลำโพงเสียงกลาง" แต่เวลา Mix ออกมาแล้วมันดัน OK ผมว่าคนใช้ก็จะต้องรู้จักมันเป็นอย่างดีด้วย หากไปฟังอีกรุ่น MSP-5 ดูกราฟด้านล่างแล้วดีกว่า NS-10M ผมฟังแล้วชอบที่สุด เพราะเสียงมันจัดจ้านย่าน Mid Hi ดี เพราะหูผมชอบแบบนั้น ผมไม่ชอบลำโพงนุ่มๆเพราะฟังย่านกลางได้ยาก จริงๆหากตัดเบสออกมันก็จะเหลือย่านกลางแหละ ดังนั้นพอมีเบสก็รู้สึกกลางบางเลยเหมือนนุ่มไป...

ลำโพงมอนิเตอร์แต่ละยี่ห้อดันมีหลายรุ่นและเสียงไม่เหมือนกัน !
จากปัญหาลำโพง Monitor แต่ละยี่ห้อเสียงก็ไม่เหมือนกัน บางยี่ห้อทุ้มมาก บางยี่ห้อแหลมไป กลางโด่ง...แล้วความถูกต้องอยู่ไหน? ตัวใคร ตัวมันล่ะครับ..ฮา ! ผมใช้วิธีดู Sound Engineer ระดับโลกว่าเขาใช้อะไรกัน แล้วหาโอกาสตามเขาเลย ง่ายดี แล้วพยายามรู้จักกับมัน ให้คุ้นเคยกับมัน มากที่สุด คุณต้องอยู่กับมันนานๆๆๆๆ จนรู้ว่า เสียงอะไร ผ่านลำโพงนี้แล้ว เป็นยังไง เมื่อทำงานก็จะรู้ว่า ประมาณไหน

ยี่ห้อดังๆทั้งนั้น แล้วจะใช้คู่ไหนดี?

ใช้ลำโพง Monitor ยี่ห้อไหนดี ?
หากไล่เรียงผู้ผลิต ก็มีไม่กี่ยี่ห้อครับ ที่มีชื่อใช้กันทั่วโลกก็มี Yamaha, Genelec, Dynaudio, KRK, Mackie, Focal..หากเรามีงบพอ ตัวแพงๆนั่นแหละดีครับ เพราะมาตรฐานโลกเขาใช้กัน แต่หากงบเราไม่ถึง ก็มีเกรดล่าง ราคาถูกและดีตามมาอย่าง Behringer, Samson, M-Audio, Tascam พวกนี้เหมาะสำหรับ Home Studio ที่ไม่ซีเรียสมาก ลำโพง Monitor เดี๋ยวนี้เป็นแบบ Active หมดแล้ว คือ มีแอมป์ติดมาในตัวเลย สะดวกครับ ให้เสียงดีด้วยเพราะมีแอมป์ 2 ตัว ใช้ Electronic cross over ในตัว ตัดความถี่เด็ดขาด ตัดเรื่องสายลำโพงออกไป เพราะแอมป์อยู่ในตู้ สายจะสั้นแค่คืบเดียว มี EQ ชดเชยลักษณะห้อง ให้ด้วย แต่หากใครยังยืนกรานชอบ Passive ใช้แอมป์ข้างนอกขับ ก็แล้วแต่นะครับ

Yamaha NS-10 Studio-Yamaha MSP-5- Geneclec 1029A
การเลือกลำโพงมอนิเตอร์อยู่ที่งบและยี่ห้อ
หากคุณมีงบกลางๆ เลือก Yamaha เลยครับ เพราะมีชื่อเรื่องนี้มากว่า 40 ปีแล้ว ใช้กันทั่วโลก แต่ไม่ได้หมายถึงยี่ห้ออื่นไม่ดี ที่ดีแต่แพงเกิน แต่ก็แล้วแต่ความชอบครับ เป็นเรื่องเฉพาะคน บางคนก็ชอบยี่ห้ออื่น เอาเป็นว่า การปรับเสียง มิกส์เสียงไม่ได้จบอยู่ที่ลำโพงคู่เดียวแน่นอน

Maximum Sound Recomended !
ที่เราก็จำหน่ายทุกระดับละครับแล้วแต่งบของท่าน แต่หากพูดถึงการสต๊อค ตัวราคาสูงก็ไม่ได้สต๊อค จะสั่งตาม order ให้ครับ ส่วนงาน Home Studio ก็ไม่ได้เน้นที่ตัวแพงๆ แต่เอาแบบพอดีๆ ทำงานได้ หากเรามีงบน้อยก็เล่นของที่พอประมาณก็ได้ครับ ไม่ต้องถึงขนาด คู่ละ 2-3 หมื่น ต่ำกว่าหมื่น ก็ทำงานได้ เวลามิกส์เสียงก็ต้องเช็คกันหลายๆที่อยู่แล้ว พวกที่ทำงานระดับ Home Studio หรือทำงานตัดต่อ ไม่ซีเรียสมากก็เอาที่พอใช้ได้ไปฟัง อย่าง Samson Media One !
 

Virtaul Reference Monitoring
นี่เป็นอีกทางครับ ที่จะทำให้เราฟังเสียงได้หลายๆโทน Focusrite ได้ทำตัวนี้ออกมา เป็นแอมป์หูฟังที่มีการจำลองเสียงลำโพง Monitor ที่มีชื่อเสียงทั้งหลายของโลก มาอยู่ในหูฟังเรา เอะ ชักยังไงเสียแล้ว ! แล้วจะใช้หูฟังตัวไหนเป็นตัวอ้างอิง รายละเอียด Click ที่รูปเลย
Focusrite VRM Box ราคา 3,800 บาท **สินค้าขาดตลาด


Virtual Reference Monitoring   

 

 

ลำโพง Monitor ขนาดเล็กต้องทำความรู้จักมันยังไง?
 
Genelec 8010A
เดี๋ยวนี้ลำโพง Monitor ขนาดเล็กจะได้รับความนิยมเพราะห้องอัดเสียง Home Studio เกิดขึ้นเยอะ ขนาดห้องก็เล็กๆ เรามีเคล็ดลับให้จบ เพราะหากไม่จบก็จะกังวลทำงานไม่ได้
1-จริงๆแล้วการฟังแบบทั่วๆไปของคนส่วนใหญ่ จะเป็นแบบลำโพงเล็กๆกันมากขึ้น มันจึงเปรียบเสมือนเป็นตัวแทนของลำโพงทีวี ระบบ suround ทั้งหลาย รวมทั้งลำโพงสำหรับคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ดังนั้นการใช้ลำโพงมอนิเตอร์ตัวเล็กก็ไม่ผิดแต่อย่างใด เพราะเมื่อก่อนลำโพง Auratone Soundcube 5C ก็เคยเป็นลำโพงที่ห้องอัดทั่วโลกต้องมี เพราะมันคือตัวแทนของลำโพงกระจายเสียงสถานีวิทยุของ BBC ขณะนั้น ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ลำโพงเล็กๆกัน ไม่ว่าในรถยนต์ ห้องเรียน ....


Auraton 5C

2-การมิกส์เสียง ส่วนมากจะ Focus ที่ย่าน Mid Hi เป็นหลัก เพราะย่านเบสเป็นย่านที่มีปัญหาที่สุดสำหรับลำโพงขนาดเล็กๆ เราจึงจำเป็นต้องใช้ Sub หรือหูฟังเข้าช่วยเช็ค บางครั้งการใช้ลำโพงใหญ่ก็จะได้ยินย่านเบสชัดเจน แต่เมื่อนำไปเปิดเครื่องเล็กๆมันจะไม่ได้ยิน ดังนั้นเป็นเรื่องท้าทายการทำงานเสียงกับลำโพงเล็กๆ แล้วมิกซ์ออกมาให้ได้ยินกลองเบสและเบส เมื่อนำไปเปิดลำโพงเล็กๆแล้วก็จะได้ยินครบ

3-ยี่ห้อไหนดี ผมเลือกมา 3 ระดับ ขนาด 3-4"
1-ระดับบน Hi End แนะนำ
Genelc 8010A **ตัวนี้ได้ norminee เข้ารอบรางวัล TEC Awards
Yamaha MSP-3
KRK VXt4

2-กลุ่มกลาง ราคาสมเหตุสมผล
KRK Rokit4
Presonus Eris E4.5
3-ราคาประหยัด(จริงๆ)
Behringer MS-16, Studio 5
Samson media one3

สุดท้ายอย่าลืมเช็คเสียงเทียบกับหลายๆที่ หลายลำโพง รวมทั้งหูฟังด้วย หูฟังแนะนำราคาประหยัดสำหรับเช็คย่านเบสคือ Superlux HD681 !!!




คุยกันมันส์ๆเรื่องเครื่องเสียง การบันทึกเสียง

พื้นฐานการบันทึกเสียง
D.I Box
Microphones
กันเสียง ซับเสียง
AC distributer