ReadyPlanet.com
dot
เครื่องดนตรี เครื่องเสียง บันทึกเสียง
dot
dot
dot
#1 Music Inst. เครื่องดนตรีสากล
กลองชุด Drum Set
กลองไฟฟ้า Electronic Drum
Percussion Acoustic
กีตาร์ไฟฟ้า Electric guitar
กีตาร์โปร่ง Acoustic guitar
เบสไฟฟ้า Electric Bass
คีย์บอร์ด Syn-Keyboard-Piano
แอมป์เครื่องดนตรี Inst. Amp
อุปกรณ์ดนตรี อื่นๆ Others
เครื่องดุริยางค์ Marching
.............................................................
#2 Pro Audio เครื่องเสียง
.............................................................
#3 Recording อุปกรณ์บันทึกเสียง
.............................................................
#4 เครื่องเสียงบ้าน HomeEntertain
.............................................................
#5 เครื่องเล่น DJ
.............................................................
#6 วัสดุซับเสียง กันเสียง
.............................................................
#7 โต๊ะ เวที เอนกประสงค์
.............................................................
#8 สินค้ามือสอง Used Gear
.............................................................
#9 CD เพลง/เสื้อยืด
.............................................................
#10 สินค้าอื่นๆ
โต๊ะ ชั้นวาง เวทีสำเร็จรูป
วัสดุซับเสียง Sound absorber ฉนวนหินภูเขาไฟ ฟองน้ำ โฟม
ตู้ลำโพงพลาสติค Plastic Box Speakers
Studio Microphones
Studio Monitor Speakers
Audio-Interface-อุปกรณ์บันทึกเสียง
Camera-Video Microphones
dot


  [Help]
dot
dot
dot




AC distributer

AC Distributer หรือ Load Center
สำหรับอุปกรณ์ที่ต้องเสียบไฟฟ้า มีอะไรยังไงบ้าง?

Load Center
Load Center

สำหรับผู้ที่ทำงานด้านเสียง ก็จะต้องยุ่งกับเรื่องปลั๊กต่างๆเพื่อเสียบอุปกรณ์ที่ใช้ไฟทั้งหมด แต่เมื่อย้อนกลับไปที่ต้นทางก็จะพบว่าจำเป็นจะต้องมีศูนย์ควบคุมไฟเมื่อต่อสายไฟมาจากจุดต่อไฟของสถานที่ต่างๆหรือจากเครื่องกำเนิดไฟ ตัวนี้คือ ศูนย์กลาง จึงเรียกว่า Load Center โดยที่จะมี Main breaker เป็นตัวปิดเปิดไฟเข้าสู่ระบบ จากนั้นก็จะแยกย่อยจ่ายไปที่ต่างๆผ่าน Breaker ตัวเล็กอีกทีเพื่อควบคุมการจ่ายไปแต่ละจุด 

จุดเริ่ม Step 1 Basic Basic
จริงๆเวลาใช้งาน ก็จะอยู่ที่งานใหญ่-งานเล็กด้วย ที่จะต้องพิจารณาตัว Load center หากเป็นงานเล็กๆ เครื่องคาราโอเกะชุดเดียว ก็ใช้ปลั๊กไฟดีๆทั่วไปก็น่าจะเพียงพอ ไม่ต้องเวอร์แบบรูปข้างบน หากดีขึ้นอีกหน่อยเป็นระดับโปรก็จะเป็นปลั๊กที่ออกแบบมาเฉพาะ มี Breaker ติดอยู่ แบบในรูป ซึ่งแบบนี้สามารถจ่ายไฟให้ Power Amp ขนาดงาน Party กลางๆสบายๆ ไม่จำเป็นจะต้องมี Cercuit breaker ย่อย มีตั้งแต่รุ่นธรรมดาๆ จนถึงรุ่นที่มีตัวเลขบอกโวลล์และกระแสที่ระบบใช้อยู่ ที่ร้านมีสินค้าของ NTS 
จำหน่ายเป็นหลัก เพราะไม่มีอะไรซับซ้อน คุ้มค่าราคา ปลั๊ก-สาย การผลิตดีเพียงพอกับการใช้งาน โดยเฉพาะเต้ารับตัวเมียนี่ เสียบแล้วปึก แน่น ทุกรูปแบบของปลั๊กตัวผู้ ไม่จำเป็นต้องไปใช้ตัวแพงๆหรอกครับ

Pro AC Plug  <ด้านซ้ายเป็นแบบติดตู้แร็ค 19"   ส่วนตัวขวาเป็นปลั๊กพ่วง> 

Step 2 อีกระดับของการไม่ใช่แค่ปลั๊ก ! >Power Conditioner
เราจะเริ่มเข้าไปยุ่งกับไฟละทีนี้ ปัญหาต่างๆที่มากับไฟฟ้ามีหลายอย่างที่มองไม่เห็น เช่น การกระชากของกระแสไฟ ความสกปรก สัญญาณรบกวนต่างๆที่มากับกระแสไฟ...จึงเป็นที่มาของ "ตัวกรองไฟ" ซึ่งยี่ห้อที่นำหน้ามาในระดับโลก คือ Furman ทุกๆที่ที่ซีเรียสเรื่องนี้ ก็จะต้องมีเจ้าตัวนี้ โดยเฉาพะในห้องบันทึกเสียง ที่อุปกรณ์ใน Rack ราคาหลายแสน ก็จะเสียบผ่านเจ้าตัวนี้กัน ในรูป คือ Furman PL-8CE ที่ทางร้านขายเป็นหลัก เพราะเป็นรุ่นราคาต่ำสุดที่มีตัว Filter กรองไฟ ราคาแตะได้ มีไฟส่อง หรี่ได้

Step 3 ควบคุมไฟตกไฟเกิน > Stabilizer
ไฟฟ้าหลายๆที่ไม่ค่อยคงที่ บางทีตำแหน่งอยู่ห่างจากหม้อแปลงมากๆ หรืออยู่
ปลายสาย เวลามีการใช้ไฟมากๆในตอนกลางคืน ไฟก็อาจจะตกได้ ปกติ 220-230 บางเวลาอาจตกเหลือ 180-200 หรือบางทีก็อาจจะมามากเกิน ไปโน่น 240 ซึ่งไฟตกไฟเกินนี้มีผลกับอุปกรณ์เครื่องเสียงเลย โดยเฉพาะไฟตก อุปกรณ์บางอย่างก้หยุดทำงานหรือคุณภาพลดลง เช่น Power Amp กำลังขับก็ตกลง เสียงแย่ลง....จึงได้มีการผลิตเจ้าตัว Stabilizer ขึ้นมาเพื่อควบคุมแรงดันไฟขาออกให้อยู่ในช่วง 220 โวลล์ โดยมีค่า % +/ - จาก 220 โวลล์ 1-5% แล้วแต่รุ่น ยิ่ง % น้อยยิ่งแพง
 < 
Stabilizer สำหรับงานทั่วไป


Stabilizer ติด rack สำหรับงานเครื่องเสียงระดับโปร

หลักๆเบื้อต้นก็จะมีประมาณนี้
(เดี๋ยวจะมาร่ายต่อครับ)




คุยกันมันส์ๆเรื่องเครื่องเสียง การบันทึกเสียง

ลำโพงมอนิเตอร์สตูดิโอ !
พื้นฐานการบันทึกเสียง
D.I Box
Microphones
กันเสียง ซับเสียง